วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

   Kamisama Hajimemashita
    จิ้งจอกเย็นชากับสาวซ่าเทพจำเป็น




เรื่องย่อ

เรื่องราวของโมโมโซโนะ นานามิ หญิงสาวนักเรียน ม. ปลายที่กำลังตกอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เนื่องจาก
คุณพ่อของเธอหนีไปเพราะเป็นหนี้การพนันและหนี้ที่สะสมจำนวนมหาศาล ทำให้เธอถูกไล่ออกจากอพาร์ตเมนต์
ที่อาศัยอยู่ จนกลายเป็นคนไร้บ้าน  อยู่มาวันหนึ่งในสวนสาธารณะนานามิได้พบกับ มิคาเงะชายหนุ่มท่าทางน่าสง –
สัยมาปรากฏตัว ต่อหน้าเธอแล้วบอกว่า ” ผมจะยกบ้านของผมให้ ”  นานามิหลงเชื่อคำพูดนั้น เธอไปตามที่อยู่ที่ได้
มา ก็พบว่ามันเป็นเพียงศาลเจ้าร้าง แถมในศาลเจ้านั้นยังมีโทโมเอะเทพจิ้งจอกหนุ่มอาศัยอยู่  ดังนั้นนานามิจึงได้
ศาลเจ้ามาเป็นบ้าน แต่ต้องแลกกับการทำงานและหน้าที่ของเทพเจ้าไปด้วย ….
นานามินั้นไม่ค่อยชอบนิสัยโทโมเอะที่เอาแต่บ่น ภูติรับใช้จึงให้คำแนะนำว่า ถ้าเธอได้ทำสัญญากับโทโมเอะ
เขาจะเชื่อฟังเธอ แต่ในเมื่อทั้งคู่ไม่ถูกชะตาแล้วเรื่องการทำสัญญานั้นจะเป็นเช่นไร  !!!?


Kamisama Hajimemashita ตอนที่1

Kamisama Hajimemashita ตอนที่2

Kamisama Hajimemashita ตอนที่3

Kamisama Hajimemashita ตอนที่4

Kamisama Hajimemashita ตอนที่5

Kamisama Hajimemashita ตอนที่6

Kamisama Hajimemashita ตอนที่7

Kamisama Hajimemashita ตอนที่8 / Dailymotion สำรอง / สำรอง / Dailymotion

Kamisama Hajimemashita ตอนที่9 Dailymotion

Kamisama Hajimemashita ตอนที่10

Kamisama Hajimemashita ตอนที่11

Kamisama Hajimemashita ตอนที่12

Kamisama Hajimemashita ตอนที่13


วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เกาะกระแสข่าวดัง

ลุงวิศวะ

เหตุการณ์ยิงกันบริเวณตลาดอ่างศิลา ถนนสายอ่างศิลา-สุขุมวิท ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี เนื่องจากขุ่นเคืองจอดรถขวางกัน โดยกลุ่มวัยรุ่นนั่งในรถตู้ได้กรูไปที่รถยนต์มาสด้า สีบรอนซ์ ทะเบียน ฌต 5079 กรุงเทพมหานคร มี นายสุเทพ โภชนสมบูรณ์ อายุ 50 ปี วิศวกร นั่งอยู่ในรถกับครอบครัว หลังจากนั้นได้มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด กระสุนถูก นายนวพล ผึ่งผาย หรือปอนด์ อายุ 17 ปี ในกลุ่มวัยรุ่น เสียชีวิต เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
เรื่องราว 2 ฝ่าย ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กว้างขวาง
ใครถูก-ใครผิด
เรื่องนี้ นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ให้ความเห็น แง่มุมกฎหมายว่า
“อำนาจการตั้งข้อหาเป็นของพนักงานสอบสวน ดังนั้นเวลานี้ยังไม่สามารถรู้ข้อเท็จจริง เราเพียงแต่ได้ข้อมูลบางส่วน หรือคลิปบางตอน แต่พนักงานสอบสวนจะเป็นผู้สอบสวนทั้งหมดในที่เกิดเหตุ หลักฐานต่างๆ จะโดนเก็บเป็นข้อมูล
เป็นการถกเถียงกันว่าเป็นการป้องกันตัวหรือไม่ แน่นอนว่าจะต้องมีการแจ้งข้อหาฆ่าคนตายเนื่องจากปรากฏชัดเจนว่ามีคนตายเกิดขึ้น ประเด็นในเรื่องนี้คือ การยิงปืนจนมีผู้เสียชีวิตเป็นการป้องกันตัวเอง ลูกเมียหรือพ่อแม่หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 ระบุไว้ว่า การป้องกันตัวเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย ภยันตรายนั้นจะต้องเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย จึงไม่ใช่ว่าเรากระทำผิดกฎหมาย แต่จะไปยิงป้องกันตัวจากเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างนั้นทำไม่ได้ ฉะนั้นคนจะมาทำการละเมิดต่อเรานั้นต้องกระทำผิดกฎหมาย ทั้งภยันตรายนั้นจะต้องใกล้เข้ามาถึง ถ้าเราไม่ป้องกันตัวจากภยันตรายนั้นจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ต่อร่างกาย ต่อเสรีภาพ และทรัพย์สินเราได้ และถ้ากระทำพอสมควรแก่เหตุก็จะถือว่าเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68 โดยไม่มีความผิด
ทุกอย่างจะอยู่ที่ข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐาน จะต้องเป็นการพิสูจน์ความจริงและต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม ที่แล้วมาก็มีตัวอย่างในอดีตตามคำพิพากษาศาลฎีกา คนตายมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าจำเลย เตะต่อยจำเลย และล้มลงห่างไป 1 วา คนตายชักมีด จำเลยจึงใช้ปืนยิงผู้ตาย แต่ผู้ตายยังเดินเข้ามาจำเลยจึงยิงอีกหนึ่งนัด ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าเป็นการป้องกันสมควรแก่เหตุ
การแสดงความคิดเห็นในเรื่องคดีจะต้องไม่เป็นการชี้นำหรือกระทบก้าวก่ายต่อกระบวนการยุติธรรม แต่เป็นการเผยแพร่ประโยชน์ความรู้ว่าทำอย่างไรจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและสมควรแก่เหตุหรือไม่ เรื่องนี้จึงควรเป็นอุทาหรณ์ในเรื่องของการใช้อาวุธปืน” เลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ย้ำในช่วงท้าย
ด้าน นายธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด อธิบายว่า
“เรื่องนี้ต้องรอกระบวนการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นพนักงานสอบสวน และยังมีกระบวนการในการพิจารณาพยานหลักฐานในชั้นอัยการและหากมีคำสั่งฟ้องคดีในชั้นอัยการก็จะมีกระบวนการในการนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์และแสวงหาความจริงในคดีในชั้นศาลอีก
ข้อเท็จจริงที่รับรู้กันมาจึงเป็นเพียงข้อเท็จจริงรับรู้ผ่านจากสื่อต่างๆ และสังคมออนไลน์ ยังไม่ผ่านการพิสูจน์ความจริงตามกระบวนการของกฎหมายและยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และยังไม่ผ่านการรับฟังพยานหลักฐานจากคู่กรณีทั้งสองฝ่าย และคู่กรณีแต่ละฝ่ายยังไม่ได้ใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้านพยานหลักฐานของอีกฝ่ายหนึ่งตามกฎหมาย ดังนั้นในขณะนี้จึงยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าคู่กรณีฝ่ายไหนผิดถูกอย่างไร เท่าที่จะทำได้น่าจะเป็นเพียงการตั้งสมมุติฐานจากข้อเท็จจริงว่า หากมีข้อเท็จจริงเช่นนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นเช่นไรมากกว่า
หากตั้งสมมติฐานของข้อเท็จจริงว่า กลุ่มเด็กวัยรุ่นจำนวนหลายคนไปล้อมรถของนายสุเทพ โดยมีลักษณะของการคุกคามให้หวาดกลัว และมีการชกต่อยทำร้ายร่างกายจนนายสุเทพบาดเจ็บได้รับอันตรายแก่กาย ก็อาจจะเป็นการกระทำความผิดฐานร่วมกันทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 คือร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่นอันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม ในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 วรรคสอง และร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
ส่วนกรณีนายสุเทพยิงปืนใส่กลุ่มวัยรุ่นจนเป็นเหตุให้นายนวพล ผึ่งผาย ถึงแก่ความตายนั้น จะเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 หรือไม่ ต้องพิจารณาว่ามีภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายเกิดขึ้นหรือไม่ มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงแล้วยัง มีความจำเป็นต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือไม่ และเป็นการกระทำไปโดยสมควรแก่เหตุหรือไม่
หากตั้งสมมุติฐานว่ามีภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายเกิดขึ้นแล้วจากการที่นายสุเทพถูกกลุ่มวัยรุ่นหลายคนรุมทำร้ายร่างกาย และภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง เพราะกลุ่มวัยรุ่นหลายคนเข้ามาประชิดตัวและพยายามเปิดประตูรถของนายสุเทพ โดยมีหลานสาวของนายสุเทพนั่งอยู่ในรถด้วย ก็ต้องมาพิจารณาต่อว่ามีความจำเป็นต้องกระทำเพื่อป้องกันหรือไม่ ตามพฤติการณ์และสภาพเหตุการณ์ในขณะนั้นและเวลานั้น หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามตั้งสมมุติฐานไว้ ถือว่านายสุเทพมีความจำเป็นจะใช้สิทธิป้องกันตนเองและบุคคลอื่นคือหลานสาวให้พ้นจากภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ เพียงแต่ว่าการใช้ปืนยิงใส่กลุ่มวัยรุ่นจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต มีข้อที่ต้องพิจารณาว่าเป็นการกระทำโดยป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุหรือไม่ ต้องมาดูความรุนแรงของภยันตรายที่เกิดขึ้นว่าถึงขนาดต้องใช้ปืนยิงไปที่กลุ่มวัยรุ่นเพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นหรือไม่ หรือว่าในพฤติการณ์และเหตุการณ์ขณะนั้น นายสุเทพสามารถป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นโดยใช้วิธีการอื่นที่ไม่ต้องใช้ปืนยิงได้ และต้องพิจารณาลักษณะและพฤติการณ์ของการยิงปืนของนายสุเทพด้วย อีกทั้งพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มวัยรุ่นมีอาวุธติดตัวหรือไม่ ถ้าหากมี เป็นอาวุธอะไร ก็เป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย
หากเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุก็ถือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย นายสุเทพก็ไม่มีความผิด แต่หากเป็นการกระทำเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ก็อาจจะมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 การกระทำเพื่อป้องกันที่เกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีจำต้องกระทำเพื่อป้องกันนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69 ให้อำนาจศาลจะลงโทษน้อยกว่ากฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ และหากการกระทำเพื่อป้องกันนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจหรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้ ก็ต้องมาพิจารณาพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในเรื่องการกระทำเพื่อป้องกันของนายสุเทพว่าเป็นอย่างไรตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมกันต่อไป
นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความและเลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) กล่าวถึงหลักเกณฑ์ ของการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายว่า 1.จะต้องมีภยันตรายเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย 2.ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายนั้น จะต้องเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง คือภยันตรายที่เกิดขึ้นนั้นกระชั้นชิดถึงขนาดหากไม่ป้องกันตัวในขณะนั้น ก็อาจจะเกิดอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ 3.ผู้กระทำจำต้องกระทำการเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายนั้น และสุดท้าย การกระทำเพื่อป้องกันนั้น จะต้องกระทำพอสมควรแก่เหตุ คือการกระทำเพื่อป้องกันนั้น จะต้องได้สัดส่วนกับภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายนั้น เช่น ภยันตรายที่เกิดขึ้นจากการถูกตบหน้า จะป้องกันโดยใช้ปืนยิง ถือว่าไม่ได้สัดส่วนกัน แต่ถ้าเป็นการสมัครใจเข้าทะเลาะวิวาท จะอ้างเหตุป้องกันตัวมิได้ หรือเมื่อภยันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้อื่นหมดไปแล้ว จะอ้างเหตุป้องกันไม่ได้
“หากแต่ว่าเรื่องการกล่าวคำหยาบเป็นเพียงคำพูดที่ไม่สมควรอาจยั่วยุให้รู้สึกเจ็บแค้นและโมโหเท่านั้น หาได้เป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันจะเป็นเหตุให้จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัวไม่ และถึงแม้มีสิทธิป้องกัน แต่ถ้าการป้องกันนั้นเกินสมควรแก่เหตุ ก็ยังคงมีความผิด ยังต้องรับโทษ เพียงแต่อาจได้รับโทษน้อยลง ตามมาตรา 69” ทนายวิญญัติกล่าวทิ้งท้าย
เหล่านี้เป็นแง่มุมกฎหมายว่ากรณีที่เกิดขึ้น เป็นการป้องกันตัวหรือกระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่
เรื่องนี้คงต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมตัดสินต่อไป
ที่คาดหวังมากกว่านั้นก็คือ
สังคมควรนำเหตุการณ์นี้ มาเป็นอุทาหรณ์ เตือนใจ ทุกคน ทุกฝ่ายพึงมีสติ แก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ว่ารูปแบบใด เพื่อระงับยับยั้งความสูญเสีย มิให้เกิดขึ้นอีก

วันวาเลนไทน์คืออะไร ??

Valentine’s Day




วันที่ 14 กุมพาพันธ์ ของทุกๆปี จะเป็นวัน วาเลนไทน์
วันวาเลน์ไทน์ คือ วันแห่งความรัก ทุกคนจะมอบความรักหรือสิ่งพิเศษให้กับคนที่เรารัก



วันวาเลนไทน์ ( Valantine ' s Day)
มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ซึ่งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่ง เป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดา แห่งอิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของเด็กหนุ่มและเด็กสาว ต่อมาใน รัชสมัยจักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม ที่มีกษัตริย์ ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การทำสงครามนองเลือด และทรงห้ามการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาดโดยขณะนั้นมีนักบุญรูปหนึ่งชื่อว่า “เซนต์วาเลนไทน์” หรือ “วาเลนตินัส” ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงโรม ได้ร่วมมือกับ เซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ด้วยความปรารถนาดีของท่านนี้เอง จึงทำให้เขาถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตเซนต์วาเลนไทน์ ได้ตกหลุมรักหญิงสาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อว่า “จูเลีย” ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะถูกประหารชีวิตนั้น เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย อันเป็นที่รัก โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine


ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 (วันวาเลนไทน์) หรือ พ.ศ.813 ราว 1,738 ปี หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่ โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม ซึ่ง จูเลีย ได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของเซนต์วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพู ได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน


วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ

3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ




หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง
  
ห่วง 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

ห่วง 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

ห่วง 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข

1. เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไข คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร


3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ

3 ห่วง ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน 

2 เงื่อนไข มีคุณธรรม นำความรู้

(เงื่อนไขความรู้ 3 รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง)

(เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร มีสติ)

สมดุล 4 มิติ
เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม (กิจ ล้อม สัง วัฒนธรรม)

หลักความพอดี 5 ประการ หลักเหตุผล 5 ประการ หลักภูมิคุ้มกัน 2 หลัก
จิตใจ ประหยัด ลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน ภูมิปัญญา
รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง
สังคม ประกอบอาชีพสุจริต
ทรัพยากร เลิกแก่งแย่งผลประโยชน์
เทคโนโลยี ไม่หยุดนิ่งในการแก้ปัญหาความทุกข์ยากในชีวิต ภูมิธรรม
ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทนและแบ่งปัน
เศรษฐกิจ ปฏิบัติตนลดละเลิก อบายมุข

เป้าหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พึ่งตนเองได้ระดับหนึ่ง อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุข อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากระดับ
ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ (ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม)
ลำดับขั้นตอนการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงได้ ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ

เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ